(ครูจิมมี่ขณะนำผู้ฝึกอบอุ่นร่างกาย บริหารข้อต่อหัวเข่า ในเวิร์คชอปครั้งแรกของ ฟิต สตูดิโอ)
การวอร์มอัพ หรือการอบอุ่นร่างกายถือว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกกำลังกายทุกชนิดรวมจนถึงการฝึกโยคะอาสนะของเราด้วยครับ
การอบอุ่นร่างกาย จะทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่างๆ ตลอดจนหัวใจ และปอด ได้รับสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่า อีกสักครู่จะต้องทำงานมากขึ้น การอบอุ่นร่างกายจะประกอบไปด้วยการยืดกล้ามเนื้อ และเอ็นของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ประมาณ 5-10 นาที ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสถานที่ที่จะออกกำลังกายด้วย ถ้าอากาศเย็นอาจต้องเพิ่มเวลา การอบอุ่นร่างกาย เพราะจะทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ มากขึ้น กีฬาแต่ละประเภทจะมีวิธีการอบอุ่นร่างกายไม่เหมือนกัน แต่หลักการก็คือ ต้องการให้กล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ได้ถูกยืดออกให้เต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนจะออกกำลังกายจริง เพราะเวลาออกกำลังกายจริง การเคลื่อนไหวของร่างกายตามลักษณะกีฬาและวิธีออกกำลังกายที่ท่านจะเล่นต่อไป จะต้องอาศัยการยืด หรือการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างเต็มที่ ถ้าหากไม่ได้ยืดเอาไว้ก่อน กล้ามเนื้อหรือเอ็นอาจได้รับบาดเจ็บ ในบางรายอาจฉีกขาดได้
กล่าวโดยสรุป ประโยชน์ในการอบอุ่นร่างกาย มีดังนี้ คือ
1. เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่างๆ ให้พร้อมที่จะออกกำลังกายต่อไป ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งในด้านประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ และในด้านป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬา เช่น กล้ามเนื้อฉีกหรือข้อแพลง เป็นต้น
2. ทำให้การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและประสาทดีขึ้นในขณะออกกำลังกาย
3. ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิต ของหัวใจ และ ระบบการหายใจ ค่อยๆ ทำงานมากขึ้นทีละน้อยก่อนที่จะออกกำลังกายจริง
ซึ่งหลายๆครั้งในการฝึกโยคะของเรา บางครั้งเราอาจจะเข้าใจว่าการไหว้พระอาทิตย์คือการวอร์มอัพและเหมือนการไหว้ครู(ก็เป็นไปได้ครับหากเรา ค่อยๆไหว้พระอาทิตย์ในรอบแรกๆแบบช้าๆระมัดระวังค่อยๆเป็นค่อยๆไป แล้วจึงค่อยๆเพิ่มความเร็วเพิ่มความเข้มข้นของการเคลื่อนไหวขึ้นทีละนิดทีละนิด)
แต่ในบางครั้ง, บางวัน เรารู้สึกขี้เกียจ เมื่อยร้า เฉื่อยชา ซะเหลือเกิน แต่ก็ยังไปเข้าฝึกโยคะ ในวันแบบนี้แหล่ะ ที่เราต้องการอะไรเล็กๆน้อยๆเพื่อมาเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายของเราก่อนที่จะไหว้พระอาทิตย์ โดยการใช้รูปแบบของท่าทางการเคลื่อนไหวอย่างง่ายๆ มาใช้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมร่างกาย ก่อนการฝึกโยคะ ผมแนะนำว่า ท่าที่นำมาใช้ควรจะเป็นท่าที่ไม่หนักมาก ผมจะเรียกขั้นตอนนี้ว่าวอร์มอย่างไม่เป็นทางการ วอร์มอีล๊อกก๊อกแก๊ก และหลักการของขั้นตอนนี้ที่ผมจะขอแนะนำก็คือ ควรจะออกแบบท่าที่เราใช้ให้
1. ครอบคลุมทุกข้อต่อในร่างกายของเรา
2. ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการเคลื่อนที่ของร่างกายเรา ก็คือ ก้มตัวไปด้านหน้า, การเอนตัวแอ่นหลัง, การบิดตัวซ้าย-ขวา, การเอียงตัวไปด้านข้างซ้าย-ขวา
3. ครอบคลุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดหลักๆในร่างกายของเรา
ซึ่งสิ่งที่ผมนำเสนอในหัวข้อนี้ก็เป็นเพียงแนวทางขั้นพื้นฐานสำหรับการป้องกันการบาดเจ็บจากการฝึกโยคะเพียงเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วการบาดเจ็บจากการฝึกโยคะของเรายังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่สามารถส่งผลกระทบกับเราจนทำให้เราอาจจะเกิดการบาดเจ็บได้ ซึ่งหัวข้อนี้ขอเป็นการเกริ่นนำก่อนก็แล้วกันนะครับ ในบทความหน้าคงจะเพิ่มความเข้มข้นด้วยการพูดคุยกันถึงเรื่องการบาดเจ็บจากการฝึกโยคะแบบเป็นจุดๆไปเลย (น่าสนใจใช่ไหมล่ะ) โปรดติดตามบทความหน้านะครับ
ด้วยพลังแห่งโยคะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การบาดเจ็บจากการฝึกโยคะของทุกๆคนจะลดน้อยลง
รบกวนทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่านบล็อก ทั้งตั้งใจและบังเอิญเข้ามาอ่านก็ดี ทุกความคิดเห็นของท่านมีความสำคัญมากๆสำหรับผม โปรดช่วยแสดงความคิดเห็น ด้านล่างของบทความทุกบทความที่ท่านให้เกียรติเข้ามาอ่าน เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ให้กับผู้เขียนในโอกาสต่อไป หรือหากท่านต้องการส่งข้อความแสดงความคิดเห็นแบบส่วนตัวหรือเข้าไปเยี่ยมชมรูปภาพของครูจิมมี่ ก็สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: jimmythaiyoga@yahoo.com www.facebook.com. โดยค้นหาจาก คำว่า Jimmy Yoga หรือ e-mail ขอบพระคุณมากๆครับ
นมัสเต,
จิมมี่โยคะ
สวัสดีค่ะครู
ตอบลบโอ๊ะ โอ๋
ในที่สุด ก็มาแล้ว บทความที่เรา รอคอย 555
นู๋ขอ เรื่องการบาดเจ็บเส้นเอ็นใต้เข่า ก่อนได้ไหมค่ะ
เพราะ ชาตินี้ นู๋คงหมดหวัง กับ สะโพก ของนู๋ไปแล้วล่ะ 555
นู๋ลองมาสำรวจพฤติกรรม ของตัวเองแล้ว
การบาดเจ็บของเส้นเอ็นใต้เข่านู๋เนี้ยน่ะ
อาจจะเกิดจากการที่ นู๋นั่งแบบ simple cross leg ไม่ถูกวิธีก็ได้น่ะ
นอกเหนือไปจากการใส่ส้นสูง 3 นิ้วอ่ะ
บุญรักษาค่ะครู
อ่านบทความของครูแล้วค่ะก็เห็นด้วยกับการที่ต้องอบอุ่บร่างกายก่อนฝึก เพราะเคยมีการบาดเจ็บจากฝึกโยคะถ้าเราไม่ได้เตรียมร่างกายไว้ก่อนอาจจะเจ็บได้ ก็อยากติดตามครูคะอยากได้ท่าและรายละเอียดของการวอร์มมาดกว่านี้ติตามไดที่ไหนคะ
ตอบลบ