เรื่องเล่า...จากครูโยคะ

เรื่องเล่า...จากครูโยคะ เป็นการรวบรวมเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์การสอนโยคะของครูจิมมี่ ถ่ายทอดออกมาเป็นบทความ สอดแทรกอารมย์ขัน เหมาะกับผู้ที่สนใจในการฝึกโยคะ, ครูฝึกโยคะและทุกๆคน ทุกเพศทุกวัย



สำหรับทุกๆท่านที่เพิ่งจะเข้ามาใช้บริการ อ่านบล็อก เรื่องเล่า...จากครูโยคะ โดยครูจิมมี่ สามารถเลือกคลิ๊กเข้าไปอ่าน บทความอื่นๆได้ ที่เดือนต่างๆ ซึ่งเรียงอยู่ทางด้านขวามือของบทความ ขอบพระคุณมากครับ



ขอพลังแห่งโยคะจงอยู่กับคุณตลอดไป...นมัสเต...





วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับ พันธะ(Bandha)กับการฝึกโยคะ





ความรู้เกี่ยวกับ พันธะ(bandha)กับการฝึกโยคะ
               พันธะ (bandha ซึ่งโดยสากลแล้วคำนี้จะออกเสียงว่า "บานดะ") มีบทบาทสำคัญในกระบวนการชำระล้างของโยคะ ผมได้อธิบายแล้วว่าปราณยามช่วยลดของเสียในร่างกายโดยการควบคุมอัคนีหรือไฟแห่งชีวิตได้อย่างไร พันธะคือเครื่องมือที่จะช่วยเน้นหนักกระบวนการดังกล่าว คัมภีร์เก่าแก่บอกเราว่าการใช้พันธะจะช่วยนำอัคนีไปยังบริเวณที่ของเสียสะสมอยู่ ของเสียเหล่านี้จะขัดขวางการเคลื่อนของพลังในร่างกาย พันธะจะช่วยขยายผลของไฟในการชำระล้าง คำว่า พันธะ หมายถึง ประสานหรือผูกเข้าด้วยกันหรือใกล้ชิดกัน เมื่อนำมาใช้ในโยคะ คำว่า พันธะ ยังหมายถึง การปิด อีกด้วยเวลาที่เราฝึกพันธะเราปิดพื้นที่บางส่วนของลำตัวด้วยวิธีการบางอย่าง
               พันธะที่สำคัญที่สุด 3 อย่างได้แก่ ชาลันธรพันธะ (jalandhara bandha) อุททียานพันธะ (uddiyana bandha) และมูลพันธะ (mula bandha)  ชาลันธรพันธะใช้คอและกระดูกสันหลังส่วนบนและทำให้กระดูกสันหลังทั้งหมดเหยียดตรง อุททียานพันธะมุ่งไปที่บริเวณระหว่างกระบังลม และฐานของกระดูกเชิงกราน  ส่วนมูลพันธะที่ใช้บริเวณระหว่างสะดือและฐานของกระดูกเชิงกราน

วิธีฝึกพันธะ
               การเรียนรู้เกี่ยวกับพันธะคุณจะต้องเรียนกับครู ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะเรียนรู้เทคนิคเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย ในการเรียนรู้วิธีการเกี่ยวกับพันธะคุณควรจะเริ่มจากชาลันธรพันธะเสมอ คุณควรจะฝึกพันธะแบบนี้จนชำนาญก่อน จึงจะเรียนรู้พันธะอีก 2 อย่าง

ชาลันธรพันธะ(Jalandhara bandhaซึ่งโดยสากลแล้วคำนี้จะออกเสียงว่า"จาลันทะระ บานดะ")
               ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของพันธะทั้งสามที่กล่าวถึงในที่นี้ เวลาเริ่มฝึกชาลันธรพันธะ ให้เรายกกระดูกสันหลังให้ตรง จากนั้นรั้งศรีษะไปด้านหลังเล็กน้อย ยืดคอให้ตรงและก้มคางลง ตราบใดที่คางยังก้มลงและหลังตรงเราก็อยู่ในชาลันธรพันธะ พันธะนี้สามารถฝึกได้ในอาสนะหลายอาสนะแม้จะไม่ใช่ทุกอาสนะ





ภาพที่ 1: ตำแหน่งของลาลันธรพันธะ อุททียานพันธะ และมูลพันธะ
อุททียานพันธะ(Uddiyana bandhaซึ่งโดยสากลแล้วคำนี้จะออกเสียงว่า"อูดิยานะ บานดะ")
               คุณต้องแน่ใจและสามารถฝึกชาลันธรพันธะจนชำนาญก่อน จึงจะทดลองฝึกอุททียานพันธะ ในพันธะแบบนี้กระบังลมและท้องส่วนล่างจะถูกยกขึ้น ในขณะที่เริ่มหายใจออกให้หดท้องเข้ามา เมื่อหายใจออกจนสุดแล้วท้องควรหดเข้าไปเต็มที่ จากนั้นแขม่วท้องขึ้นและหดเข้าไปหากระดูกสันหลัง การหดท้องในลักษณะนี้จะทำให้กระบังลมยกขึ้น เมื่อฝึกพันธะนี้จนชำนาญแล้ว สะดือจะเคลื่อนเข้าหากระดูกสันหลัง ทวารหนักและกล้ามเนื้อหลังจะหดตัว เวลาที่ฝึกพันธะนี้อย่างสมบูรณ์ บริเวณท้องทั้งหมดจะกลวง
 

                                ภาพที่ 2 : ท่าอาสนะง่าย ๆ ที่ใช้ฝึกพันธะ  ได้แก่  (1) ตฑากะมุทรา  และ
(2)  อโธมุขะศวานาสนะ  หลังจากสามารถฝึกพันธะในท่าทั้งสองนี้ได้จน
ชำนาญแล้ว จึงค่อยคิดที่จะฝึกพันธะในท่ามหามุทรา mahamudra (3)

               ในการฝึกพันธะนี้ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือการหดและคลายท้องจะต้องทำอย่างช้า ๆ อย่างเช่น ถ้าคุณกลั้นหายใจหลังจากหายใจออกไปเวลา 10 วินาที คุณควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 วินาทีในการคลายกล้ามเนื้อท้อง ถ้าท้องไม่ผ่อนคลายเต็มที่จริง ๆ หลังจากทำอุททียานพันธะการหายใจ เข้าครั้งต่อไปจะถูกจำกัด และคุณจะเกิดอาการสำลัก คุณจะรู้สึกถึงอุททียานพันธะได้ง่ายในอาสนะง่าย ๆ บางท่า เช่น ท่าตฑากระมุทรา (tadaka mudra) และท่าอโธมุขะศวานาสนะ (adhomukha svanasana) (ดูภาพที่ 2)

มูลพันธะ (Mula bandha ซึ่งโดยสากลแล้วคำนี้จะออกเสียงว่า"มูลา บานดะ")
               มูลพันธะเป็นการฝึกต่อเนื่องจากอุททียานพันธะ โดยผ่อนคลายทองส่วนบนและกระบังลม แต่ท้องส่วนล่างยังหดอยู่ พูดอีกอย่างคือบริเวณใต้สะดือยังคงหดอยู่ ในขณะที่บริเวณเหนือสะดือผ่อนคลาย เราเคลื่อนจากอุททียานพันธะ โดยการกลั้นหายใจหลังหายใจออกในขณะที่ฝึกพันธะทั้งสองแบบ และเราสามารถค้างอยู่ในมูลพันธะระหว่างการหายใจเข้าครั้งต่อไปได้

พันธะและอาสนะ
               เราควรจะเริ่มฝึกพันธะในท่าอาสนะง่าย ๆ เพื่อว่าร่างกายจะได้คุ้นเคยกับมัน ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นถึงอาสนะเหล่านี้ ท่าที่ง่ายที่สุดคือนอนหงาย และยกแขนวางบนพื้นเหนือศรีษะ (1) เราสามารถฝึกอุททียานพันธะในท่านี้ได้ ท่านี้เรียกว่า ตฑากะมุทรา คำว่า ตฑากะ หมายถึง สระน้ำขนาดใหญ่บนพื้นโบสถ์ในอินเดีย การทำให้ท้องกลวงในท่านี้ทำให้เรานึกถึงสระน้ำเหล่านี้ ท่าง่าย ๆ อีกท่าหนึ่งในการฝึกพันธะคือ ท่าอโธมุขะศวานาสนะ หรือท่าสุนัขคว่ำหน้า (2) คนที่สามารถฝึกพันธะได้อย่างสบายในท่าเหล่านี้ แล้วจึงพร้อมที่จะลงฝึกในท่านั่ง เช่น ท่ามหามุทรา (3) ได้มหามุทราหรือมุทราที่ยิ่งใหญ่ ที่มีชื่อเรียกเช่นนี้เพราะท่านี้เป็นท่าที่ใช้พันธะทั้งสามแบบ ตำแหน่งของส้นเท้าที่ก้นกบจะช่วยเริมมูลพันธะได้
            นอกจากนี้เรายังสามารถฝึกพันธะในท่ากลับหัวได้ เช่น ท่ายืนด้วยศรีษะ ยกเว้นชาลันธรพันธะ เราสามารถฝึกพันธะในท่านี้ได้ง่าย เนื่องจากการดันของเสียขึ้นมาพบกับเปลวไฟ (ในอุททียาพันธะ) และถูกกักไว้ที่นั่น (ด้วยมูลพันธะ) จะได้รับการเกื้อหนุนจากกลไกในร่างกายในท่วงท่านี้ ในท่ากลับหัวทั้งหมด ของเสียจะถูกยกให้มาตั้งอยู่เหนือเปลวไฟไฟจะลุกขึ้นไปเผาไหม้ของเสียที่อยู่ข้างบน ในขณะที่ของเสียจะเคลื่อนลงมาหาเปลวไฟ
            ถ้าเราสามารถหายใจได้อย่างคล่องแคล่วในท่ายืนด้วยไหล่ ท่านี้ก็จะดีมากในการฝึกพันธะ เพราะฉะนั้น อาสนะที่ดีที่สุดสำหรับฝึกพันธะ ได้แก่ ท่ากลับหัวบางท่า และท่านอนหงายหรือท่านั่งหลังตรงทั้งหมด การฝึกพันธะจะยากมากหรือเป็นไปไม่ได้ในท่าอย่างเช่นท่าแอ่นหลังและท่าบิดตัว ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการฝึกพันธะในท่าเหล่านี้
               คำเตือน : ไม่ควรฝึกพันธะตลอดช่วงที่ฝึกอาสนะ เช่นเดียวกับเทคนิโยคะอื่น ๆ การฝึกพันธะควรจะฝึกฝนอย่างมีศิลปะและไม่ควรฝึกอย่างหักโหม การช่วยเหลือจากครูเป็นสิ่งจำเป็น

พันธะและปราณยาม
               เราควรจะฝึกพันธะทั้งสามแบบได้ย่างสบาย ๆ ในท่าอาสนะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก่อน จึงจะถือว่าเราก้าวหน้าพอที่จะเริ่มฝึกพันธะในการฝึกปราณยาม เรามาลองพิจารณาว่าพันธะจะช่วยให้ทำปราณยามมีผลในชำระล้างได้มากขึ้นได้อย่างไร ชาลันธรพันธะทำให้ลำตัวของเราอยู่ในตำแหน่งที่กระดูกสันหลังตั้งตรง การอยู่ในลักษณะนี้ทำให้ปราณนำพาเปรวไฟไปยังของเสียซึ่งควรจะถูกเผาไหม้ได้ง่ายขึ้น จากนั้นอุททียานพันธะจะดันของเสียขึ้นไปยังเปลวไฟ ส่วนมูลพันธะช่วยให้ของเสียค้างอยู่ที่นั่นนานพอที่มันจะถูกเผาไหม้ได้
               พันธะทั้งสามแบบสามารถฝึกได้ทั้งในระหว่างที่ฝึกอาสนะและปราณยาม ในขั้นสุดท้ายเราสามารถฝึกชาลันธรพันธะตลอดตั้งแต่การหายใจเข้า หายใจออกและกลั้นหายใจ อุททียานพันธะจะฝึกได้เฉพาะระหว่างที่กลั้นหายใจหลังจากหายใจออกเท่านั้น ส่วนมูลพันธะสามารถฝึกได้ตลอดช่วงของการฝึกปราณยามเช่นเดียวกับชาลันธรพันธะ
               เนื่องจากอุททียานพันธะจะฝึกเฉพาะในช่วงที่กลั้นหายใจหลังจากหายใจออกเท่านั้น เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำคัญคนที่ต้องฝึกพันธะนี้คือ คุณจะต้องสามารถกลั้นหายใจหลังจากหายใจออกได้ เป็นเวลานานโดยไม่ลดทอนคุณภาพของการหายใจเข้าหรือหายใจออกถ้าคุณไม่สามารถทำเช่นนี้ได้คุณก็ไม่ควรคิดถึงการฝึกพันธะนี้ ถ้าคุณต้องการฝึกชาลันธรพันธะ คุณต้องแน่ใจว่าไม่มีอาการตึงที่คอหรือหลังเพื่อที่คุณจะสามารถทำให้กระดูกสันหลังตรงได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ ในขณะที่ก้มคางลงมา ถ้าคุณพยายามดึงคางลงโดยที่คอของคุณตึง จะทำให้อาการตึงมากขึ้นและจะทำให้เกิดอาการปวด การฝึกพันธะร่วมกับกบาลภาตีและภัสตริกะปราณยามจะทำได้เฉพาะกับชาลันธรพันธะเท่านั้น คุณไม่ควรฝึกพันธะในศีตลีปราณยาม เพราะการฝึกศีตลีปราณยามศรีษะจะเคลื่อนไหวขึ้นลง
               ถ้าต้องการจะฝึกพันธะในระหว่างการฝึกปราณยาม ก่อนอื่นเราจะต้องฝึกการใช้สัดส่วนลมหายใจให้ได้ก่อน คือหายใจเข้า หายใจออกและกลั้นหายใจได้อย่างสบาย ๆ เป็นจำนวน 12 รอบของการหายใจโดยยังไม่ฝึกพันธะ จากนั้นจึงค่อยเริ่มฝึกพันธะได้ เช่นเดียวกับการฝึกอาสนะประจำวัน เราใช้หลักการวิญญาสะกรมะค่อย ๆ ไปสู่การฝึกพันธะซึ่งเป็นการฝึกที่ค่อนข้างยากทีละขั้นจากนั้นค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ และจบการฝึกปราณยามด้วยการหายใจแบบง่าย ๆ เราเน้นการฝึกของเราจนกระทั้งก้าวหน้าไปทีละขั้น ฝึกฝนด้วยความอดทนโดยไม่มีการบังคับร่างกายและลมหายใจ

ข้อมูลจากหนังสือ "หัวใจแห่งโยคะ ท่วงท่าและมรรคาแห่งโยคะ" หนังสือแปลของ อาจารย์ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์ 


ขอพลังแห่งโยคะ ความรักและศรัทธาจงอยู่กับทุกๆคนตลอดไป บุญรักษา พระคุ้มครอง

นมัสเต,

จิมมี่โยคะ

ป้ายกำกับ

Powered By Blogger