เรื่องเล่า...จากครูโยคะ

เรื่องเล่า...จากครูโยคะ เป็นการรวบรวมเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์การสอนโยคะของครูจิมมี่ ถ่ายทอดออกมาเป็นบทความ สอดแทรกอารมย์ขัน เหมาะกับผู้ที่สนใจในการฝึกโยคะ, ครูฝึกโยคะและทุกๆคน ทุกเพศทุกวัย



สำหรับทุกๆท่านที่เพิ่งจะเข้ามาใช้บริการ อ่านบล็อก เรื่องเล่า...จากครูโยคะ โดยครูจิมมี่ สามารถเลือกคลิ๊กเข้าไปอ่าน บทความอื่นๆได้ ที่เดือนต่างๆ ซึ่งเรียงอยู่ทางด้านขวามือของบทความ ขอบพระคุณมากครับ



ขอพลังแห่งโยคะจงอยู่กับคุณตลอดไป...นมัสเต...





วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โอม(AUM)... เสียงที่แฝงไว้ซึ่งสัจธรรม และการตระหนักรู้อย่างมีสติ


โอม(AUM)... เสียงที่แฝงไว้ซึ่งสัจธรรม และการตระหนักรู้อย่างมีสติ.

ในคลาสโยคะหลายๆคลาส เวลาเริ่มคลาสและจบคลาสมักมีการสวดมนต์หรือเปล่งเสียงคำว่า"โอม" พวกเราทราบกันหรือไม่ว่า คำๆนี้ มีความหมายอะไรแอบแฝงอยู่ และเราได้อะไรบ้างจากการสวดมนต์หรือเปล่งเสียงคำว่า"โอม"

ซึ่งตอนที่ผมเริ่มฝึกโยคะใหม่ๆ ก็รู้สึก.ฉงน?.กับการสวดมนต์หรือเปล่งเสียงคำว่า"โอม" (ก็คงเป็นความรู้สึกไม่ต่างจากทุกๆคนที่เพิ่งจะเริ่มฝึกโยคะใหม่ๆ) สิ่งที่รู้สึก ณ ตอนนั้นก็คือ การฝึกโยคะนี่จะนำเราเข้าไปสู่ลัทธิความเชื่ออะไรหรือเปล่าเอ่ย? จากนั้นผมก็ค่อยๆเริ่มศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล เกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า"โอม"

เนื่องจากโยคะได้ถือกำเนิดขึ้นมา ตามอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."
และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย "โอม" อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งคำว่า โอม นี้เป็นหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!

โอม...เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

คำว่า โอม มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตุได้จากลักษณะเด่น คือ
- มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 นำหน้า
- มีเครื่องหมายคล้าย ง. งู ต่อท้าย
- มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน
(นอกจากโอมแบบมาตรฐานนี้แล้ว ยังมีอีกหลายลักษณะ ตามแต่ละท้องถิ่นและภาษาของอินเดีย)

อักขระ โอม(AUM) เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้
อะ (A) - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ) เรามักออกเสียงกันเป็น อา..า..า
อุ (U) - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ) เรามักออกเสียงกันเป็น อู..
มะ (M) - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ) เรามักออกเสียงเป็น อืม..ม..ม  และปิดปากจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนในกระโหลกศรีษะ

อะ อุ มะ....หรือ อา..า..า...อู..ว..ว..อืม..ม..ม.. เมื่ออ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน จึงเกิดเป็นคำว่า "โอม" หมายถึงการเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ในหนังสือบางเล่ม จะสลับความหมายไปมา บ้างก็ว่า อะ คือพระวิษณุ บ้างก็ว่า มะ คือพระศิวะ สลับไป สลับมา แต่ละเล่มก็เลยเขียนไม่เหมือนกันเลย ขอผู้อ่านได้โปรดจำให้ขึ้นใจ จะได้ไม่สับสนนะครับ 

พระพรหมมะ คือตัวแทนแห่งการ สรรสร้างสรรพสิ่งต่างๆ ดังนั้นเราจึงยกย่องท่านว่าเป็น พระผู้สร้าง(เกิดขึ้น)

พระวิษณุ คือตัวแทนแห่งการ ซ่อมแซม ฟื้นฟู ทนุบำรุง ดูแลรักษา  ดังนั้นเราจึงยกย่องท่านว่าเป็น พระผู้บำรุงรักษา(ตั้งอยู่)

พระศิวะ คือเทพเจ้าตัวแทนแห่งการ ทำรายล้าง เพื่อจัดการทุกสรรพสิ่งให้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงยกย่องท่านว่าเป็น พระผู้ทำรายล้าง(ดับไป)

ดังนั้น รวมแล้ว คำว่า"โอม" จึงมีความหมายซ่อนเล้น นัยะสัจธรรมของชีวิต ปริศนาธรรม ถึงการ...เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป...

เป็นเครื่องเตือนสติ, เตือนใจให้พวกเราได้ตระหนักรู้และฉุกคิดว่า ชีวิตของพวกเราทุกๆคนก็มีวัฏจักรเพียงเท่านี้ และชีวิตเราก็ไม่ได้ยืนยาวสักเท่าไหร่ ดังนั้นพวกเราทุกๆคนจึงควรตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม จรรยาบรรณ อันดีงาม ประกอบกุศลกรรม ทำในเรื่องที่ดี ช่วยเหลือเมตตาเพื่อนร่วมโลกตามแต่กำลังและโอกาส

ส่วนในเรื่องประโยชน์ของการสวดมนต์หรือเปล่งเสียงคำว่า"โอม" จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ผมคิดว่า
1. ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจ สังเกตจากการที่เราจะต้องหายใจเข้าให้เต็มปอดก่อนทุกครั้งที่จะเปล่งเสียง"โอม"ออกมา หลังจากนั้นก็ลากเสียงโอมยาวๆอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะหมดลมหายใจ จึงสิ้นสุดการเปล่งเสียงโอม(ใจจะขาด)
2. ช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของสมอง ทำให้เรารู้สึกตื่นตัว มีสติ สังเกตจากตอนช่วงท้ายของการเปล่งเสียง"โอม" ตรงช่วงที่ออกเสียงอืม..ม..ม และปิดปาก เราจะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในร่างกายรวมจนถึงภายในกระโหลกศรีษะของเรา ซึ่งทำให้เรารู้สึกได้ถึงความมีสติ ความสงบสุข และความตื่นตัว
3. ช่วยทำให้เรามีสมาธิขั้นเบื้องต้น-จิตจดจ่อ เมื่อเราต้องเปล่งเสียง"โอม" จิตของเราจะลืมคิดถึงเรื่องราวต่างๆ และสิ่งต่างๆไปชั่วขณะที่เราได้เปล่งคำนี้ เป็นพื้นฐานของการทำให้เราจดจ่อและเกิดสมาธิขั้นเบื้องต้น ดังนั้นการเปล่งเสียง"โอม" ก่อนที่เราจะเริ่มฝึกโยคะถือว่าเป็นการสนับสนุนให้ผู้ฝึกมีสมาธิในการฝึกที่ดีขึ้นด้วย

และนี่ก็คือ เรื่องราวที่มาที่ไป ของการสวดมนต์หรือเปล่งเสียง"โอม" ในคลาสโยคะบางคลาส ที่พวกเรามักพบเจอ...หวังว่าข้อมูลดังกล่าวคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ฝึกโยคะทุกๆท่าน(อย่างน้อยก็น่าจะหายสงสัยไปได้บ้างล่ะครับ)

ขอพลังแห่งโยคะ, เสียงโอม(AUM)... เสียงแห่งสัจธรรม และการตระหนักรู้อย่างมีสติ จงอยู่กับผู้ฝึกโยคะทุกๆคนและผมตลอดไปเทอญ

นมัสเต,

จิมมี่โยคะ


ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลจาก
http://www.siamganesh.com/ganeshaum.html
โดย : กอง บก. สยามคเณศดอทคอม Siamganesh.com

5 ความคิดเห็น:

  1. จำได้ว่าครั้งแรกของการเรียนโยคะแบบเป็นจริงเป็นจังในชีวิตวันแรก สิ่งที่เจอแล้วประทับใจ จนต้องเขียนบันทึกไว้ค่ะ "คือการสวดโอม"

    .....เป็นบันทึกที่เขียนไว้ในบล็อก เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 52 ค่ะ...
    บันทึกจากความรู้สึก ณ ตอนนั้นล้วน ทั้งๆ ที่ไม่ทราบว่า โอม คืออะไร


    เสียง "โอมมมมมมมมมมมมมมมม" ผ่านจากลำคอยาวๆ
    กระฮื่มอยู่กลางกระหม่อม พองับริมฝีปากเสียง "โอมมมมมมมมม"
    จะสั่นขึ้นทางจมูกถึงกึ่งกลางหน้าผาก

    เสียงของนักเรียนทั้งคลาสประสานกัน รู้สึกเหมือนมีพลังอะไรบางอย่าง
    มาห่อหุ้มคลาสไว้ มันเยือกเย็น รู้สึกสุขสงบมาก จนบรรยายไม่ถูก

    เหมือนเป็นการบอกให้ร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้ว

    Anchalee

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากๆเลยครับ คุณอัญชลี สำหรับการแวะเข้ามาเยี่ยมเยือนบล็อกของผมและเข้ามาคอมเม้นต์ ผมเองก็เคยเข้าไปอ่านบล็อกของคุณอัญชลีบ้างแล้วเช่นกันแต่ยังไม่ได้คอมเม้นต์ หากว่างๆจะหาโอกาสเข้าไปอ่านใหม่ครับ

    หากมีข้อเสนอแนะอะไรก็ แนะนำได้เลยนะครับ ผมจะได้นำไปปรับปรุงในโอกาสต่อๆไป เพื่อจะได้เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนบทความเรื่องใหม่ครับ

    ขอพลังแห่งโยคะจงอยู่กับคุณตลอดไป...บุญรักษา...พระคุ้มครอง...นมัสเต

    จิมมี่

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณครูจิมมี่มากครับที่นำความรู้มาแบ่งปันครับผม
    ปัญญวัฒน์

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ
    ปิยะวัลย์

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ดีดีที่เป็นวิทยาทาน และการแบ่งปันที่ดีมากค่ะ

    ตอบลบ

ความคิดเห็น ของคนในวงการโยคะ

ป้ายกำกับ

Powered By Blogger