เยี่ยมชมพระราชวังมัยซอร์ ก่อนลงทะเบียนฝึกที่ KPJAYI.(Jimmy in Mysore 5)
เช้าวันอาทิตย์ที่
30ธันวาฯ2555
ผมตื่นเช้าขึ้นมาด้วยความสดชื่น หลังจากที่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เมื่อวานนี้
วันนี้ช่วงเช้าผมมีเวลาว่าง ผมตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมชมพระราชวังมัยซอร์
เพราะว่ามีผู้ที่มีประสบการณ์หลายๆท่านแนะนำผมมาอีกทีหนึ่งน่ะครับ เวลาประมาณแปดโมงกว่าๆผมก็เริ่มค่อยๆออกเดินทาง
เดินเท้านี่แหล่ะครับ เดินไปเรื่อยๆ จากการสอบถามข้อมูลจากนิชิต
เขาบอกว่าพระราชวังมัยซอร์ห่างจากย่านที่ผมอยู่แค่ประมาณ 3-4กิโลเมตรเท่านั้นเอง แต่นิชิตทิ้งท้ายว่าให้ขึ้นรถโดยสารประจำทางไปแป๊บเดียว แต่ในใจผมคิดว่าแค่ 3-4 กิโลเมตรเอง อดีตนักวิ่งมินิมาราธอนอย่างเรา
น่าจะเดินได้สบายไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ผมก็เลยตัดสินใจเดินเท้าชมวิวทิวทัศน์ของเมืองมัยซอร์ไปเรื่อยเลยล่ะครับ หลังจากที่เดินมาได้สักประมาณ 3กิโลเมตร ก็ยังไม่เห็นแม้แต่เงาของพระราชวังมัยซอร์
พอดี ณ บริเวณนั้นอยู่ใกล้ๆสถานีตำรวจ
(นายตำรวจ ที่สถานีตำรวจที่ผมเดินผ่าน)
ผมก็เลยเดินเข้าไปถามนายตำรวจท่านหนึ่งว่าการจะมุ่งหน้าไปพระราชวังมัยซอร์นี่ไปทางไหน?
และต้องไปอีกไกลไหม? เดินเท้าไปได้ไหม? นายตำรวจท่านนี้ก็ชี้ทิศทางให้ แล้วก็บอกกับผมว่าอย่าเดินไปเลยมันไกลนะ
ให้ขึ้นรถโดยสารประจำทางไปดีกว่า
แล้วก็ชี้บอกว่าผมควรจะต้องไปขึ้นรถโดยสารประจำทางตรงป้ายรอรถป้ายใด(นิชิต 3-4กิโลเมตร ที่แกว่ามันไม่ใช่ว่ะพวก)
(ป้ายไฟตัวหนังสือ ในศาลารอรถโดยสารประจำทาง)
ที่พักผู้โดยสารรอรถประจำทางของที่นี่ดูไม่น่าจะทันสมัยเลย
แต่ก็ทันสมัยให้งงซะงั้นล่ะครับ มีป้ายไฟฟ้าเป็นตัวหนังสือบอกสายรถประจำทาง
และจุดหมายที่รถสายนั้นๆจะไป(ไม่น่าเชื่อ แต่จริง) พอขึ้นมาบนรถโดยสารประจำทางได้เรียบร้อยแล้ว
ผมก็บอกกับกระเป๋ารถฯว่าจะไปพระราชวังมัยซอร์ (Mysore Palace) เขาก็ส่ายศรีษะ ซ้าย-ขวา ตามสไตล์ของชาวอินเดีย ซึ่งหมายความว่าใช่ จากนั้นพี่ระเป๋ารถเมล์แกก็กดเครื่องออกตั๋วแบบดิจิตอลที่คล้องคอไว้มาให้ผม(อั๊ยย๊ะ! ไฮเทคฯได้อีก อย่างไม่น่าเชื่อ) แล้วก็บอกผมว่า 10รูปี(ที่นี่เขาน่าจะคิดค่าโดยสารตามระยะทางคล้ายๆกับบ้านเราน่ะครับ
แต่ผมไม่ทราบว่าราคาเริ่มต้น และราคาสูงสุดคือเท่าไหร่)
(บรรยากาศ ในรถโดยสารประจำทางอินเดีย)
(ตั๋วรถโดยสารประจำทางของอินเดีย)
ก็ได้นั่งรถโดยสารประจำทางดูวิถีชีวิตผู้คนในเมืองมัยซอร์ อินเดีย
ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจไปอีกแบบหนึ่งครับ บนรถโดยสารประจำทางของอินเดียในยุคพัฒนาแล้วก็จะมีป้ายไฟเป็นตัวหนังสือ
บอกว่าป้ายต่อไปคือที่ไหนอย่างไร(อั๊ยย๊ะ!ไม่ธรรมดา)
พอมาถึงบริเวณใกล้ๆพระราชวังมัยซอร์ กระเป๋ารถเมล์ก็บอกให้ผมเตรียมตัวลงพร้อมกับชี้ทิศทางว่าให้เดินไปทางด้านโน้นอีกนิดหนึ่งก็จะเจอพระราชวังมัยซอร์
ผมกล่าวขอบคุณกระเป๋ารถเมล์ท่านนี้ แล้วผมก็เดินมุ่งหน้าไปสู่พระราชวังมัยซอร์
อินเดีย
(ประตูด้านหน้าทางเข้าพระราชวังมัยซอร์)
(พระราชวังมัยซอร์)
พอมาถึงด้านหน้าทางเข้าพระราชวังมัยซอร์
สถานที่ดูใหญ่โต กว้างขวางมากๆ สมกับคำว่าพระราชวังจริงๆครับ
มีการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากบ้านเราพอสมควรเลยล่ะครับ
สำหรับค่าธรรมเนียมในการผ่านประตูเข้าไปชมภายในเขตพระราชวังก็ 40รูปีสำหรับชาวอินเดีย, 200รูปีสำหรับชาวต่างชาติ พอเข้ามาถึงภายในเขตพระราชวัง เราก็จะต้องนำกระเป๋าต่างๆที่นำติดตัวมาด้วยไปผ่านเข้าเครื่องสแกนเพื่อตรวจหาวัตถุต้องสงสัยตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของที่นี่น่ะครับ ด้านนอกตัวอาคารวังเราสามารถใช้กล้องถ่ายรูปได้ครับ
แต่ส่วนภายในตัวพระราชวังเขาไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพใดๆทั้งสิ้นน่ะครับ
ผมก็ได้ชมความงดงามของศาสนสถานซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตพระราชวัง
และบรรยากาศโดยรอบของพระราชวัง มีนักเรียนนักศึกษา
และผู้คนชาวอินเดียรวมจนถึงชาวต่างชาติจำนวนมากให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมพระราชวังมัยซอร์ในวันนี้
เนื่องจากเป็นวันอาทิตย์
ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับพระราชวังมัยซอร์
คือ กษัตริย์แห่งราชวงศ์วอเดยาเป็นผู้กำหนดเมืองแห่งวัฒนธรรมทางตอนใต้ของมัย
ซอร์ (Mysore) พระราชวังหรูหราและโบสถ์เซ็นต์
ฟิโลมีน่าซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบโกธิคเซนต์ที่มียอดแหลม 175 ฟุต
สถาบันท้องถิ่นรักษาดนตรีและการเต้นรำแบบการะนาตักให้ยังคงอยู่ในสายตา สาธารณชน
วัดศตวรรษที่ 11 ที่โดดเด่นตั้งตระหง่านอยู่บนขั้นบันได 1,000
ในเขตนอกเมือง แต่งตัวให้โก้แล้วไปปาร์ตี้แบบร็อคสตาร์เพื่อเฉลิมฉลองมรดกมัยซอร์
(Mysore) ในช่วงเทศกาลดัสเซห์รา (Dussehra) ที่แสนรื่นเริง ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 10 วันในเดือนตุลาคม
/ พฤศจิกายน
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://th.tripadvisor.com/Tourism-g304553-Mysore_Karnataka-Vacations.html)
พอออกมาด้านหน้าพระราชวังมัยซอร์
ก็จะมีเหมือนตลาดนัดขายสินค้าขนาดไม่ใหญ่มาก มีของกิน ของใช้
และของที่ระลึกต่างๆวางขายกันหลายร้านพอสมควรครับ
พอมองไปเห็นของกินผมก็รู้สึกหิวขึ้นมาทันทีเพราะในช่วงเช้าก็ยังไม่ได้ทานอะไรเป็นกิจจะลักษณะ ที่น่าสนใจก็เป็นผลไม้ล่ะครับ
หลักๆเลยแถวๆนี้ก็จะขายผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นล่ะครับ พอเดินเข้ามาใกล้ๆผมก็เห็นเขาขายสับปะรด,
แตงโม, แตงกวาผลใหญ่ปลอกเปลือกผ่าครึ่งซีก และมะละกอ สิ่งที่ผู้คนบริเวณนั้นให้ความสนใจรับประทานมากที่สุดก็คือมะละกอครับ
ดังนั้นผมเลยขอลองซื้อมะละกอมาทานดีกว่า จะได้รู้รสชาติว่าทำไมถึงเป็นที่นิยมของคนที่นี่(อิๆๆ
น่าตื่นเต้น)
เป็นมะละกอชิ้นใหญ่เหมือนกันครับ หั่นวางบนกระดาษที่ดูคล้ายๆกับกระดาษหนังสือพิมพ์แต่กระดาษมีความหนามากกว่า
ผมคิดว่าน่าจะเป็นกระดาษจากหนังสือนิตยสารหรือแมกาซีนต่างๆมากกว่าน่ะครับ มะละกอดังกล่าวนี้จะโรยหน้าด้วยเกลือและพริกไทเล็กน้อยครับ
ก็ได้รสชาติอร่อยแบบแปลกๆดีครับ(สาเหตุที่อร่อยแบบแปลกๆอาจสืบเนื่องมาจากกระดาษที่ใช้เป็นแผ่นรองมะละกอน่ะครับ
อิๆๆ) มะละกอแบบนี้หนึ่งชิ้นก็ราคา 20รูปีครับ
หลังจากนั้นสักพักผมก็รอลุ้นล่ะครับ ว่าภูมิต้านทานของผมเป็นอย่างไรบ้าง
จะท้องเสียจากการกินมะละกอหรือไม่ ก็ปรากฏว่าไม่มีปัญหาอะไรครับ
ผมคิดคำนวณเอาไว้ว่าจะใช้เวลาที่พระราชวังมัยซอร์นี้แค่ถึงเวลาประมาณเที่ยงเท่านั้น
เพราะว่าผมจะต้องกลับไปรอลงทะเบียนสำหรับการฝึกโยคะที่ K. Pattabhi Jois Ashtanga Yoga
Institute ผมก็เริ่มสอบถามคนแถวๆนั้นอีกล่ะครับ ว่าผมจะขึ้นรถโดยสารประจำทางกับย่าน
Gokulam ได้ที่ไหน
เพื่อความแน่นอนปรึกษาคนในเครื่องแบบไว้ก่อนเพื่อความอุ่นใจ
ก็ถามพี่ตำรวจท่องเที่ยวที่อยู่หน้าประตูพระราชวังฯฝั่งที่เขาไม่อนุญาตให้ใครผ่านเข้า-ออก(พอดีผมเดินออกมาด้านนอกแล้วล่ะครับ
แต่กำลังเดินอ้อมรอบนอกของเขตพระราชวังฯเพื่อที่จะหาป้ายรถโดยสารประจำทางเพื่อเดินทางกลับที่พัก)
พี่ตำรวจท่านนี้บอกกับผมว่าเดินอ้อมเขตพระราชวังฯไปอีกนิดหนึ่งก็จะเจอจุดพักรถโดยสารประจำทางขนาดใหญ่
เนื่องจากรถโดยสารหลายๆสายจะมาหมดระยะที่นี่ ให้ผมเดินไปถามนายสถานีที่จุดพักรถดู เป็นข้อมูลที่ดีครับ, พี่ตำรวจเขาบอกมายังไงผมก็ทำแบบนั้นล่ะครับ หลังจากที่ผมไปถามนายสถานีแล้วก็ได้ความว่า รถสาย119 จะผ่านย่าน Gokulam ที่ผมอยู่ ก็10รูปีครับสำหรับค่าโดยสาร แล้วผมก็นั่งยาวกลับมายังแถวๆที่พัก กระเป๋ารถเมล์เขาก็จะบอกเราล่ะครับพอเวลาใกล้ๆจะถึงที่หมายที่เราต้องการจะไป เนื่องจากเราเป็นชาวต่างชาติน่ะครับ โดยทั่วๆไปแล้ว ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวที่อินเดียก็มักจะไม่ค่อยใช้บริการรถโดยสารประจำทางของอินเดียสักเท่าไหร่หรอกครับ แต่สิ่งนี้ผมได้รับการแนะนำมาจาก คุณอิทธฤทธิ์ ประคำทอง(บรรณาธิการ สื่อโยคะออนไลน์ “อรุโณทัย”) ว่าควรจะลองดู มันเป็นรสชาติของชีวิต และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดหรอก จริงครับไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยครับ แต่รถทั้งคันมีผมเป็นชาวต่างชาติคนเดียวจริงๆ ที่เหลือแขกอินเดียล้วนๆ
แต่ผมขอแนะนำให้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางในตอนกลางวันนะครับ ตอนกลางคืนอาจจะไม่มีอะไรก็ได้แต่ผมไม่ค่อยมั่นใจน่ะครับ และนิสัยโดยส่วนตัวของผมก็คือเมื่อมาอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม ผมมักจะไม่ค่อยออกไปไหนในเวลากลางค่ำกลางคืนน่ะครับ
เนื่องจากรถโดยสารหลายๆสายจะมาหมดระยะที่นี่ ให้ผมเดินไปถามนายสถานีที่จุดพักรถดู เป็นข้อมูลที่ดีครับ, พี่ตำรวจเขาบอกมายังไงผมก็ทำแบบนั้นล่ะครับ หลังจากที่ผมไปถามนายสถานีแล้วก็ได้ความว่า รถสาย119 จะผ่านย่าน Gokulam ที่ผมอยู่ ก็10รูปีครับสำหรับค่าโดยสาร แล้วผมก็นั่งยาวกลับมายังแถวๆที่พัก กระเป๋ารถเมล์เขาก็จะบอกเราล่ะครับพอเวลาใกล้ๆจะถึงที่หมายที่เราต้องการจะไป เนื่องจากเราเป็นชาวต่างชาติน่ะครับ โดยทั่วๆไปแล้ว ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวที่อินเดียก็มักจะไม่ค่อยใช้บริการรถโดยสารประจำทางของอินเดียสักเท่าไหร่หรอกครับ แต่สิ่งนี้ผมได้รับการแนะนำมาจาก คุณอิทธฤทธิ์ ประคำทอง(บรรณาธิการ สื่อโยคะออนไลน์ “อรุโณทัย”) ว่าควรจะลองดู มันเป็นรสชาติของชีวิต และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดหรอก จริงครับไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยครับ แต่รถทั้งคันมีผมเป็นชาวต่างชาติคนเดียวจริงๆ ที่เหลือแขกอินเดียล้วนๆ
แต่ผมขอแนะนำให้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางในตอนกลางวันนะครับ ตอนกลางคืนอาจจะไม่มีอะไรก็ได้แต่ผมไม่ค่อยมั่นใจน่ะครับ และนิสัยโดยส่วนตัวของผมก็คือเมื่อมาอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม ผมมักจะไม่ค่อยออกไปไหนในเวลากลางค่ำกลางคืนน่ะครับ
ผมกลับมาถึงที่พักย่านGokulam เวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง พอเกือบจะถึงที่พักก็นึกขึ้นได้ว่าน้ำดื่มที่ห้องพักใกล้จะหมดแล้ว
ควรจะซื้อน้ำกลับเข้าไปไว้ที่ห้องสักสองขวด
น้ำดื่มที่ผมนิยมซื้อที่นี่ก็จะขนาดบรรจุขวด 2ลิตร ราคาขวดละ 30รูปี
หลังจากนั้นผมก็พักเล็กน้อยและตระเตรียมเอกสารต่างๆเพื่อไปรอลงทะเบียน
ที่KPJAYI.
โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับ...ซึ่งเป็นส่วนของการลงทะเบียนเพื่อฝึกโยคะที่ KPJAYI.
ขอพลังแห่งโยคะ
ความรักและศรัทธาจงอยู่กับทุกๆคนตลอดไป บุญรักษา พระคุ้มครอง
นมัสเต,
จิมมี่โยคะ